18 ตุลาคม 2555

4 P กับ topup2rich

นักธุรกิจทุกประเภทรวมถึงนักธุรกิจเครือข่ายต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญมากถึงมากที่สุดที่จะขาดหายไม่ได้เลย หรือเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของการตลาดเลยก็ได้ นั้นก็คือ 4Ps อ่านว่า โฟว์ พี หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ส่วนประสมการตลาด หรือ Marketing Mix (อ่านว่า มาร์เก็ตติ้ง มิกซ์)
โดยคำว่า 4Ps นั้น เกิดขึ้นมาจากคำนำหน้าของ ตัว P 4 ตัว ซึ่งก็คือ
1. Product (ผลิตภัณฑ์)
2. Price (ราคา)
3. Place (สถานที่)
4. Promotion (การส่งเสริมการตลาด)
มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ...


Product  
โดยธรรมชาติ Product จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดนั้นก็คือ Tangible Product (ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ เช่น สินค้าประเภท รถยนต์ มือถือ เสื้อผ้า) และ Intangible Product (ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น การบริการต่างๆ โรงแรม เครือข่ายผู้ให้บริการการใช้มือถือ)
สิ่งที่สำคัญในการพิจารณา Product คือ Product ของเรา มีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้หรือไม่ (Consumer's Wants) และสามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดกับผู้บริโภคได้หรือไม่ (Consumer's Satisfaction) ถ้าคำตอบคือ ไม่รู้ สิ่งที่คุณต้องรีบไปทำคือ หาข้อมูลผู้บริโภคโดยด่วนค่ะ ว่าพวกเค้ามีความเข้าใจ (Perception) เกี่ยวกับ Product เราอย่างไร แล้วนำข้อมูลตรงนั้น มาปรับปรุง พัฒนา Product ของเราให้ตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจได้
สำหรับ TOP UP 2 RICH สินค้าคือเครือข่ายผู้ให้บริการการใช้มือถือ

สินค้านี้มีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแน่นอน เพราะ คือลูกค้าได้บริโภคอยู่แล้ว (Consumer's Wants) ไม่ได้เป็นสินค้ามาใหม่เพียงแต่เราต้อง นำเสนอวิธีการบริโภคใหม่ ให้ ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และ ได้ รายได้คืน จึงเป็นสินค้าที่ มีคู่แข่งน้อยมาก เพราะเราขาย วิธีการบริโภค ที่คืน ผลประโยชน์ให้แก่เขา โดยเฉพาะ การสร้างรายได้ที่เป็นPassive Incomeจริง ๆ
สามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดกับผู้บริโภคได้หรือไม่ (Consumer's Satisfaction) ข้อนี้ แยกเป็น 2 เรื่อง คือ เรื่องแรก คุณภาพ ของ การให้ บริการจากเครือข่าย ที่ลูกค้าบริโภค อยู่แล้ว ย่อมรู้ดี มีให้เลือก หลายเครือข่าย เรื่องที่สอง คือ การให้บริการของ บริษัท topup2rich ในเรื่อง การ ให้บริการเติมเงิน ซึ่ง เราก็ต้อง รอดูกันต่อไป แต่เราสามารถ ให้ คำตอบที่ผู้บริโภค พอใจ คือ ปัจจุบันเราก็ใช้บริการ เติมเงิน เช่นกันอยู่แล้ว จำนวนผู้ใช้มือถือก็มีจำนวนเท่าเดิม เท่าที่ผ่านมาก็ ไม่มีปัญหา ฉะนั้นเพียงแต่เปลี่ยนวิธี เติม มา ทำด้วยตัวเองมันน่าจะสะดวกกว่า ไม่ต้องไปเข้าคิว รอที่ 7/11 หรือ ตู้เติมเงินหรือเติมผ่านผู้ให้บริการอื่น ๆ อีกต่อไป


*Good Tips: สำหรับนักการตลาดเครือข่ายดิฉันอยากให้เริ่มต้นที่ Product เป็นอันดับแรก เพราะว่าต่อให้ ราคาถูกแค่ไหน มีสถานที่จัดจำหน่าย มีศูนย์ ประชุมใหญ่โตเพียงใด และส่งเสริมการตลาดได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ของเราไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ก็จบเกมส์ค่ะ โดยเฉพาะ สินค้าประเภท อาหารเสริม เพราะฉะนั้นอย่าเคลิบเคลิ้ม ฟัง อัพไลน์ หรือผู้ ชักชวนกันเองว่า Product เราดียังงี้ ยังงั้น จง ทำ การ บ้าน หาข้อมูล เกี่ยวกับ สินค้าของ ธุรกิจนั้นให้ดี ๆหรือ ต้องออกไปลุยหาข้อมูลจากผู้บริโภคค่ะ ถ้าบอกว่าทานแล้ว คนเป็นโรคนั้นโรคนี้ หายหรือดีขึ้น พยายามติดต่อสอบถาม ผู้ที่เป็น testimonial เหล่านั้น เอาชื่อคนเหล่านั้นไป search ดูก็ได้ จะเห็นว่า ข้อมูล จะซ้ำๆ กัน สรุปว่าProduct ที่เป็น เครือข่ายมือถือ เป็น เทคโนโลยีที่จัดเป็นสินค้าที่” อินเทรนด์” มาก ๆ

Price
ราคาถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในการทำการตลาดในที่นี่เราพูดถึง ราคาสมาชิก เริ่มต้น ที่ 1000 บาท เพื่อซื้อแฟรนไชส์ ไม่มีค่าใช้จ่ายรักษายอด สูง ๆ เราเพียงแต่เติมเงิน ตามที่เราต้องการ ซึ่งไม่ บังคับให้ซื้อเหมาจ่ายเป็นรายเดือน หรือ เป็นแพ็คเก็ต บังคับเติม ทุกเดือน ในวันที่นั้น ๆ เหมือนที่เคย มีบางบริษัทเคย กำหนด ซึ่งในความเป็นจริง กลายเป็นภาระเพื่อผูกมัดเป็นเงื่อนไข ของรายได้
การตั้งราคาหรือพูดง่าย ๆ คือ ค่าแฟรนไชส์ ที่ เปิดโอกาสให้ ลง หลายรหัส ตาม อัตภาพ และ ปริมาณการใช้ โทรศัพท์ ในแต่ละเดือนเป็นการตอบโจทย์ที่ว่า กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร และพวกเค้าพอใจที่จะจ่ายที่ราคาเท่าใด ซึ่งบางครั้งตั้งราคาถูกไป กลุ่มเป้าหมายก็จะบอกว่า โอกาสในการสร้างธุรกิจ ก็จะเติบโตช้า ตั้งราคาแพงไปก็จะบอกว่ากีดกัน คนที่ไม่มีเงินลงทุน การจ่ายคืน สูงเกินไป ก็ overpay ทำให้ บริษัท อยู่ไม่ได้ ตั้งราคาที่เหมาะสมจึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แต่คำว่าเหมาะสม ใครจะมาเป็นคนวัดคะ ถ้าไม่ใช่กลุ่มผู้บริโภคหรือ สมาชิกเครือข่าย ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา

Good Tips: การตั้งราคาที่ดี ควรจะต้องรู้ ธรรมชาติของประเภทผลิตภัณฑ์ที่เราขายอยู่ เช่น บริการเติมเงินมือถือที่มีอยู่ หลากหลายค่าย ซึ่งมีราคาให้เลือกหลายระดับ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการวาง Positioning ในตลาด ว่าจะขายใคร และพวกเค้าพอใจที่จ่ายเท่าไหร่ค่ะ
ในกรณีนี้ ขอเน้นที่สินค้าประเภทเดียวกัน ซึ่งมีการตั้งราคาหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการวาง Positioning ในตลาด ซึ่งทั่วๆ ไป สามารถสรุปกลยุทธ์ราคาได้ดังนี้ค่ะ
1. Skimming Price (การตั้งราคาสูงกว่าตลาด)
2. Penetration Price (การตั้งราคาแบบทะลุทะลวง)
3. Competitive Price (การตั้งราคาที่สามารถแข่งขันได้)


Place
ในเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายหรือสถานที่ขายนั้น ปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ การขายแบบ Offline และการขายแบบ Online การขายแบบ Offline ก็จะเป็นการขายผ่านสถานที่ต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้ามาเห็น สัมผัส หรือสาธิตให้เห็นได้ ส่วนแบบ Online ที่เป็นกระแสมาแรงก็คือ การขายผ่าน Internet นะคะ
การแนะนำ ทางออฟไลน์ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
1. การชักชวน บอกต่อเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง อาจจะท้อแท้ ถ้าหาก เราเคยทำธุรกิจเครือข่ายมาหลายตัวและไม่ประสบผลสำเร็จ เราจะถูกปฎิเสธ ก็ต้องไม่ท้อแท้ รีบสำเร็จให้เขาเห็น "Money Talk"ค่ะ
2. หาลูกค้าใหม่ เช่นเพื่อนใหม่ ผู้ร่วมงาน คนรู้จักใครก็ได้ที่ใช้มือถือ เป็นการเปิดใจที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพราะ topup2rich เป็นสินค้าที่ทุกคนบริโภคอยู่แล้ว คุณแค่ไปขาย วิธีการบริโภคเท่านั้น  (บริโภคอย่างไรให้ได้ เงินคืนหรือเปลี่ยนรายจ่ายให้เป็นรายได้)
ในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่ายแบบ Online นั้น ถือว่ามีอนาคตสดใสทีเดียว เพราะไม่ต้องลงทุนเยอะ และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงกันได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ข้อเสีย ซึ่งไม่สามารถชดเชยได้นั้นก็คือ ขาดความน่าเชื่อถืออยู่พอสมควร มี น้องคนหนึ่งถามดิฉันว่า การที่เราเข้าไปทักคนใน facebook มันผิดไหม

ดิฉัน ได้อธิบายว่า
ผู้คนใน facebook หลากหลายมาก ๆ ก็เหมือนผู้คนในชีวิตจริงที่เราเจอะเจอตาม ห้างสรรพสินค้า ตามถนน หนทาง เราก็ต้องคำนึงถึงมารยาทสากล คือเราไม่ เข้าไปทักทาย แบบ ไม่ดูตาม้าตาเรือ แต่ในสังคมออนไลน์เราพบปะผู้คนได้มากกว่าในชีวิตจริง เพราะ หากถูกด่ากลับออกมา ก็ไม่ต้องอายใคร คนมีความกล้ามากกว่าในชีวิตจริง

ดิฉันเชื่อว่า เกือบ 95% เป็นผู้คนที่ต้องการขายอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้าลองsearch หาสินค้าคำว่าเครื่องสำอาง หรือ รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า คุณจะได้รับ ผลลัพท์ (results)มากมาย แทบจะเลือกไม่ถูก ในขณะที่ หลายคนก็ ไปหาแฟน หาเพื่อน จึงไม่แปลกที่จะมีผู้คนเข้าไปหาผู้มุ่งหวังทางธุรกิจ (โดยเฉพาะธุรกิจเครือข่าย) ใน facebook เยอะมาก ต่างคนต่างก็จ้องจะสปอนเซอร์กัน บางคน มือใหม่ อาจจะไม่รู้หรืออาจจะขี้เกียจก็ไม่ทราบได้ ไม่มีการทำการบ้าน ทักไปเรื่อย ไม่มีการเข้าไปคลิกดู ก่อนว่าคนที่เราคุยด้วยเขาทำมาหากินอะไร สังคมเขาเป็นยังไง เขาอาจจะเป็นผู้นำธุรกิจระดับมหาเศรษฐี ของค่ายอื่นอยู่แล้ว แต่คุณกำลังพยายามชวนเขามาทำธุรกิจ เด็ก ๆ ที่ตัวคุณเองอธิบายแผนยังไม่ได้เลย พอเขาปฎิเสธก็ท้อแท้ พาลโกรธเสียอีก น่าสมเพชจริง ๆ

Facebook เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะมันรายงานพฤติกรรมของคุณทุกอย่าง บางคน โพสต์ รูป โพสต์ บทความ หรือ ข้อมูลทุกอย่างให้คนทั้งโลกรู้ บางทีก็ หลงผิด มันส์ในอารมณ์ ใช้ภาษาที่หยาบคาย บอกสถานะทางครอบครัวของตนเองหมด บ่นด่ากัน ประจานคู่สมรสมั่ง ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานมั่งคุยเรื่องไร้สาระ ตลอดจนเรื่อง รสนิยมทางเพศ ทั้ง ๆ ที่เป็น หญิงสาวโสด เมื่อมาทำธุรกิจเครือข่าย ก็ แอดทุกคนเป็นเพื่อนไปหมด หารู้ไม่ว่าคนที่เขาต้องการ ทำธุรกิจเขาเข้ามาอ่าน ศึกษาพฤติกรรมของคุณเขาก็ ไม่เกิดศรัทธา ไม่อยากทำธุรกิจกับคุณแน่นอน
บางคน ไม่เคยรู้ว่า facebook กับ fan page ต่างกันอย่างไร
คิดแต่ว่ามีเพื่อนเยอะๆ จะทำธุรกิจได้ง่ายเท่านั้นเอง
Social media ที่ ช่วยในการโปรโมทธุรกิจที่ดีที่สุดคือ การเขียนบลอกโดยใช้ blogger เพราะ เป็นของ google โอกาสที่จะติด search engine มีความเป็นไปได้สูง มากกว่า เขียนโดยใช้ blog ตระกูลอื่น ๆ
บางคนตกม้าตาย มีคนมาอ่านบลอกเยอะ แต่ follow up ไม่เป็น เข้าไปแชทคุยต่อใน facebook กลับพิมพ์ผิดพิมพ์ถูก สื่อสารไม่รู้เรื่อง เลยเสียผู้มุ่งหวังไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ในปัจจุบันทุกค่ายก็พยายามโปโมทว่าตนเองได้นำการตลาดแบบ Attraction Marketing มาให้สมาชิกบริการ ดิฉัน สงสัยจังว่า ธุรกิจ ที่ดังชั่วข้ามคืนเหล่านั้น มี ผู้นำที่เข้าใจอย่างถ่องแท้หรือเปล่า ถ้าคุณยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร อ่านได้ที่นี่ค่ะ

การ ตลาดแบบAttraction Marketing คืออะไร

 วันหลังดิฉันจะแฉวิธีการสกปรกของบางบริษัท ที่สร้าง Capture Page( หน้าดักจับผู้มุ่งหวัง) ที่เอาเปรียบสมาชิกอย่างแยบยล มาให้อ่านเพื่อแบ่งปันกันนะคะ


P ที่ 4 คือ Promotion (ในที่นี้หมายถึง หน้าที่ของบริษัท เจ้าของ แบรนด์)
โปรโมชั่นในที่นี้ หมายถึง การส่งเสริมการตลาด นะคะ ซึ่งปัจจุบัน นักการตลาดมักจะเรียกเป็นอีกอย่างหนึ่งแต่มีความหมายเหมือนกัน นั้นก็คือ Marketing Communication หรือการสื่อสารการตลาด ซึ่งนักการตลาดต้องเข้าใจว่า การลด แลก แจก แถม คือ Sale Promotion หรือการส่งเสริมการขาย แต่ในหลายๆ ครั้งมักจะเรียกย่อๆ ว่า โปรโมชั่น เพราะฉะนั้น อย่าสับสนนะคะ
ในส่วนนี้ เรียกว่า ส่วนของการสื่อสารการตลาด หรือเรียกย่อๆ ว่า Marcom (มาร์ค้อม) ซึ่ง Marcom ประกอบไปด้วยเครื่องมือ (Tools) หลายๆ อันเช่น



1. การโฆษณา (Advertising) เช่น โฆษณาผ่าน ทีวี วิทยุ แม็กกาซีน หนังสือพิมพ์ บิลบอร์ด ในส่วนนี้ ทางบริษัทเป็นผู้จัดทำ ธุรกิจเครือข่ายที่ดี เจ้าของธุรกิจ หรือ CEO ต้องมีนโยบาย เพื่อส่งเสริมการขาย ในข้อนี้
2. การประชาสัมพันธ์ หรือมักเรียกกันว่า PR (Public Relationship) ในข้อนี้บางทีสมาชิกต้องเรียนรู้ที่จะ ทำPR ด้วยตนเอง
3. การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เช่น จดหมาย โทรศัพท์ อีเมล์
4. การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion) เช่น การลด แลก แจก แถม มี ผู้นำกลุ่มบางกลุ่ม พยายาม พัฒนาส่งเสริมการขาย โดยวิธีนี้ แต่บางทีก็ เปะปะ
5. การส่งเสริมการตลาด ณ จุดขาย หรือเรียกว่า P.O.P. (Point-Of-Purchase) เช่น การติดป้ายโฆษณาตรงชั้นวางสินค้า ออกบู๊ธ จัดการโปรโมท ตามนิทรรศการต่าง ๆ
6. พนักงานขาย (Personal Selling) บุคลากรที่ทำหน้าที่นี้ต้องเก่งและ ทำงานกันเป็นทีม
7. Online Marketing เช่น การทำโฆษณาผ่าน Website, การส่ง SMS

Good Tips: เครื่องมือทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีข้อดี ข้อเสีย รวมถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว การสื่อสารการตลาดทำขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สุดท้าย นั้นก็คือ ความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์นั้นเอง  หลาย ๆ บริษัทใช้วิธี สร้างวัฒนธรรมในองค์กร ให้ สมาชิก กระหน่ำโฆษณาทางsocial Media กันเอง คุณจึงเห็น บางแบรนด์ที่ยึดพื้นที่ facebook Ad. ที่มีโฆษณาของสมาชิก บริษัทนี้ ที่มีข้อความโฆษณา ซ้ำๆ กัน โดยมากบอก ปลดหนี้ จำนวนเท่านั้น เท่านี้ ภายใน 2-3 เดือน คุณคลิกอ่านของใครก็ได้ เพราะ เนื้อหามาจาก ที่เดียวกัน กลายเป็นว่า ผู้จ่ายค่าโฆษณา คือสมาชิก ไม่ใช่บริษัท (ที่ไม่มีตัวตนในประเทศไทย) ก็ ไม่ต้องรับผิดชอบ อะไร) หากเกิดปัญหา สคบ. ก็คง ยกมือยักไหล่ บอก " ช่วยไม่ได้ เตือนแล้ว" 

ฉะนั้น การแสดงความจริงใจของ บริษัทข้อแรกคือการ ทำP ที่ 4 คือ Promotion  โดยส่วนใหญ่จะมีการไล่เรียงวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
· การสร้างความรู้จัก (Awareness
· การให้ความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ (Knowledge)
· การทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบแบรนด์ (Preferences)
· การทำให้ผู้บริโภคชอบแบรนด์เรามากกว่าแบรนด์อื่นๆ (Liking)
· การทำให้ผู้บริโภคชอบแบรนด์เรามากที่สุด (Conviction)
· ซึ่งจะนำไปสู่การซื้อ (Purchase)
· สุดท้ายก็จะกลายเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีกับแบรนด์ (Loyalty)

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เข้าไป อ่านได้ที่

หมายเหตุ:
สำหรับสมาชิก ที่สมัครไปแล้ว ต้องการสมัครเพิ่มอีก 
สามารถใช้สมัครได้ ใช้ชื่อเดิม รหัสบัตรประชาชนเดิม
เปลี่ยนแค่เบอร์ใหม่ บัญชีใหม่ (ชื่อเดิมได้) ค่

วารีนา ปุญญาวัณน์
รหัส (โปรดโทรเพื่อสอบถาม)
Tel 086-138-3113
email: maywarina@gmail.com
กลับไปหน้าหลักของบล็อกนี้
แอด Facebook
คลิกเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือทดลองใช้ระบบ



ติดตามข่าวสารจากเราได้ทุกช่องทางค่ะ 
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ คลิคLIKEด้านล่างนี้ค่ะ


------------------------------------------------------------------------------------------------

แนะนำองค์กรทีทำงานออนไลน์ 100%


ชื่อผู้แนะนำ วรกัญญา สเปนส์
รหัส  13168658
โทร. 0827700172


แอด facebook